วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

    สมุนไพรไทย
   6 ชนิด ที่มีสรรพคุณช่วยรักษาข้อเข่าเสื่อม



เพชรสังฆาต
สมุนไพรชนิดนี้ เป็นไม้เถาเลื้อย เปลือกเถาเรียบเป็นข้อต่อๆ กัน เถาของเพชรสังฆาตมีลักษณะเหมือนกระดูก เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข้อต่อกระดูก มีสรรพคุณในการบำรุงกระดูก แก้ปวด แก้อักเสบ และสารฟลาโวน้อยด์ที่ทำให้เส้นเลือดแข็งแรง

เถาวัลย์เปรียง 
สมุนไพรที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต ขึ้นอยู่ทั่วไปตามหัวไร่ปลายนา หน้าฝนออกดอกสีขาวเป็นช่อบานสะพรั่งสวยงาม ยอดอ่อนรับประทานได้ สรรพคุณในการแก้อาการปวด ลดการอักเสบ อาการปวดเมื่อยของกระดูกและข้อ  

งา 
พืชน้ำมันบำรุงชั้นยอด งาอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส รับประทานคู่กับถั่วธัญพืชต่างๆ จะยิ่งทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูก สรรพคุณของงา ในการเป็นยาบำรุงกระดูก

      หญ้าขัดมอน
สมุนไพรตระกูลขัด มีสรรพคุณในการแก้ขัดต่างๆ เช่น อาการปวด ขัดตามข้อ ปัสสาวะขัด ใช้ในการรักษาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อย บำรุงเอ็น รวมถึงกล้ามเนื้อและกระดูก

      เอ็นอ่อน
เป็นสมุนไพรหนึ่งในยา สามดูกสี่เอ็น เพื่อรักษากระดูกและเอ็น สรรพคุณที่ใช้ในการรักษากระดูกและเอ็น แก้เส้นตึง ช่วยให้คลายเส้น และยืดเส้นเอ็น

       ยอ
สมุนไพรใกล้ตัว ถูกนำมาใช้ทำอาหาร หรือทำเป็นยาพอกแก้ปวด แก้เคล็ดขัดยอก ผลยอสุกนำมาใช้รับประทานได้ ลูกยอบดใช้ทาผิวหนังฆ่าเชื้อโรค ในปัจจุบันมีการนำยอมาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น โรคเก๊าต์ โรคความดันโลหิตสูง อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ โรคปวดในข้อ เป็นต้น

    การรักษาด้วยการใช้สมุนไพรไทยจากธรรมชาติ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่อาจช่วยบรรเทาอาการได้ไม่มากก็น้อย แต่สำหรับคนที่ยังไม่เป็นโรค การทำความรู้จักสมุนไพรไว้ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการดูแลตัวเองได้
        
          ผักและผลไม้ที่ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรรับประทาน




  • วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงเอ็นข้อต่อ ผู้ป่วยข้ออักเสบควรบริโภควิตามินซีประมาณ 90 มิลลิกรัม/วันในเพศชาย และประมาณ 75 มิลลิกรัม/วันในเพศหญิง ตัวอย่างอาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ส้ม สับปะรด ฝรั่ง บรอกโคลี มะเขือเทศ มะละกอสุก กะหล่ำปลี และดอกกะหล่ำ เป็นต้น
  • วิตามินดี ช่วยดูดซึมแคลเซียมและเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินได้ทางผิวหนังจากการรับแสงแดด โดยควรรับแสงแดดอ่อน ๆ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแดดจ้า หรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานานเกินไป นอกจากนี้ สามารถรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูงได้จากอาหารจำพวกนม ไข่ ปลาซาดีน และอาหารทะเล
  • สารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) เช่น เควอซิทิน (Quercetin) และแอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidins) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบคล้ายยาแอสไพรินและไอบูโพรเฟน โดยอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ได้แก่ เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ชาเขียว หัวหอม และมะเขือเทศ
  • เบตาแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งช่วยขจัดสารอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนทำลายข้อต่อกระดูกต่าง ๆ โดยอาหารที่มีเบตาแคโรทีนสูง ได้แก่ แครอท แคนตาลูป ใบสะระแหน่ ผักปวยเล้ง และหน่อไม้ฝรั่ง  
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 อาจช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวดข้อต่อกระดูก และลดอาการติดแข็งบริเวณข้อในตอนเช้า โดยอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาซาดีน ปลาทูน่า และปลาแซลมอน
         อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

  • เกลือ หากบริโภคเกลือในปริมาณมาก จะทำให้เซลล์เก็บน้ำไว้มากเกินไปจนร่างกายบวมน้ำ ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรลดการใช้เกลือและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม
  • น้ำตาล อาจกระทบต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งทำให้การอักเสบทวีความรุนแรง จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้ก คุกกี้ หรือขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ
  • แป้งขัดขาว อาจกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย และทำให้อาการปวดข้อต่อกระดูกรุนแรงขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทำจากแป้งขัดขาว เช่น ขนมปังขาว พาสต้า ซีเรียล ธัญพืชต่าง ๆ ที่ขัดขา
  • อาหารทอด เช่น เฟรนช์ฟราย โดนัท เพราะมีไขมันอิ่มตัวปริมาณมาก ซึ่งอาจเพิ่มการอักเสบภายในร่างกายได้ ผู้ป่วยจึงควรเลือกบริโภคอาหารอบแทนอาหารที่ใช้น้ำมันทอด
  • เนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูง เพราะการปรุงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ด้วยอุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดสาร AGEs (Advanced Glycation End Products) ที่อาจทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย และอาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ซึ่งสาร AGEs มักอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยการย่าง ปิ้ง หรือทอด ที่ใช้อุณหภูมิสูง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เพราะอาจกระตุ้นอาการต่าง ๆ ให้รุนแรงขึ้น และอาจเกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อใช้ร่วมกับยาหรือการรักษาอื่น ๆ ของโรคข้ออักเสบ

 ท่าออกกำลังกายสำหรับ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
  
















นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ “อุปกรณ์ประคบเย็น” 

นางพัสน์นันท์มงคลจาตุรงค์ งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ ฝ่ายการพยาบาล โรง พยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล
การบริหารจัดการความ ปวด
• การจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เข้ารับการผ่าตัด
 เปลี่ยนข้อเข้าเทียม
 - ใช้ยาบรรเทาปวด
- ไม่ใช้ยา

การบริหารจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยา
• การใช้ความเย็นประคบ มีประสิทธิภาพในการลดความปวดและ อาการบวม
• อุปกรณ์ประคบความเย็นที่ใช้ในศิริราช ได้แก่
- cold pack
- cryo cuff


































วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้ประคบเย็นรักษาและบรรเทาความเจ็บปวดบริเวณข้อเข่า
 2. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายขณะประคบข้อเข่าด้วยความ เย็นที่มีอุณหภูมิคงที่



อุปกรณ์ที่ใช้










ผ้าสําลีเย็บเป็นถุง ขนาด 25 x 50 ซม.













ถุง Urine bag (ใหม่)







ปั๊มน้ําตัวเล็ก พร้อมสายยาง













กระติกน้ํา

































https://mgronline.com/goodhealth/detail/9580000131494

https://www.pobpad.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7

file:///D:/kanyarat/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%202.pdf


วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561


โรคเหน็บชา 
โรคเก๊าซ์

กรุณาคลิกดูวิดีทัศน์ด้านล่าง


ความรู้เบื้องต้น เรื่อง โรคข้อเข่าเสื่อม



โรคข้อข้อเข่าเสื่อม (Knee Ostoearthritis)






โรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร
     
โรคข้อเข่าเสื่อม คือ โรคที่เกิดจากกระดูกอ่อนของข้อเข่า หรือ ผิวข้อสึกกร่อน เป็นผลให้ข้อต่อเสียดสีกันจนเกิดการอักเสบ ปวด บวม

โครงสร้างของข้อเข่า
ข้อเข่าของคนเราประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ
  •        กระดูกต้นขาหรือทางการแพทย์เรียกว่ากระดูก femur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
  •        กระดูกหน้าแข็งทางการแพทย์เรียก tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของข้อเข่า
  •        กระดูกลูกสะบ้าทางการแพทย์เรียก patella ซึ่งอยู่ด้านหน้าของเข่า



 




                                                                         
                                                            
                                                                              
                      ผิวข้อเข่าคนปกติ                            ผิวข้อเข่าของคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อม 

ชนิดของข้อเข่าเสื่อม

1. โรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ (Primary knee osteoarthritis) ไม่มีความผิดปกติมาก่อน แต่สัมพันธ์กับปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ความอ้วนและการใช้งานของข้อเข่า
2. โรคข้อเข่าเสื่อมทุติยภูมิ (Secondary knee osteoarthritis) เกิดจากมีความผิดปกติของกระดูกและข้อแต่กำเนิด ได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวข้อ (Trauma) การอักเสบของโครงสร้างภายในข้อ ข้อไม่มีความมั่นคง

อาการและอาการแสดงของผู้ที่มีภาวะข้อเข้าเริ่มเสื่อม แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้
1. อาการปวด บวม ที่ข้อเข่า  ได้แก่ อาการปวดบริเวณข้อเข่าขณะเดิน หรือขณะเดินขึ้นลงบันได บางท่านอาจมีอาการปวดตอนกลาง  คืนในขณะที่นอน หรือ ปวดขณะที่นั่งพักได้ หรือมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อยืนลงน้ำหนักนานๆ ในรายที่มีการอักเสบของข้อเข่าจะมีอาการข้อเข่าบวมเป็นๆ หายๆ
2. อาการข้อฝืด หรือ ตึงข้อขณะเคลื่อนไหว เช่นมีอาการหลังตื่นนอน ไม่สามารถขยับข้อเข้าได้ตามปกติ หรือ มีอาการขณะเปลี่ยนท่าเช่น ปวดเข่าเมื่อลุกขึ้นยืน หรือ เดิน รู้สึกเหมือนข้อเข่าติดขยับลำบาก มีอาการตึงๆ ข้อเข่า
 3. ความสามารถในการใช้งานข้อเข่าลดลง เช่น  ไม่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ ขึ้นลงรถลำบาก การยกขาสวมใส่กางเกงลำบาก ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้คล่องแคล่วตามเดิม

พยาธิสรีรวิทยา / กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม
 ความปวดเป็นอาการสําคัญของโรคข้อเสื่อม โดยเกิดจากกลไกทั้งที่ส่วนปลายและที่ส่วนกลางของ pain pathway ความปวดจากโรคข้อเสื่อมนับเป็นต้นแบบของ nociceptive painโดยแพทย์คาดว่าความปวดจะเป็นสัญญาณเตือนถึงข้อที่มีความเสื่อมรุนแรงมากขึ้นนั่นเอง ความปวดจากโรคข้อเสื่อมเริ่มมาจากส่วนปลายประสาท axon อิสระที่อยู่ในชั้น synovium เยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) และเอ็น ยกเว้นในส่วนกระดูกอ่อน กลไก nociceptive นี ้มีความเกี่ยวข้องกับ สาร neuromediator และ regulating factor หลายตัว เช่น nerve growth factor รวมทั้งการมีcentral modification ของ painpathway ด้วย  เข่าของคนเราเป็นข้อที่ใหญ่และต้องทำงานมากทำให้เกิดโรคที่เข่าได้ง่ายโรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึง การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการ
เสื่อมสภาพทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของ น้ำ หล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูก อ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็งผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อเกิดอาการเจ็บปวด หาก ข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดอาการ บวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นข้อเข่าก็จะมีอาการโก่งงอทำให้เกิดอาการ ปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของข้อเข่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้เท่าช่วยเดินหรือบางคนจะเดินน้อยลงทำให้กล้ามเนื้อ ต้นขาลีบลงข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเหยียดขาได้ไม่สุดเมื่อเกิดเข่าเสื่อมมากขึ้นกระดูกอ่อน( cartilage )จะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาที่เรียกว่า osteophytes เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อก็จะสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นทำให้ข้อ เข่ามีขนาดใหญ่ เอ็นรอบข้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อจะลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้ำาๆโดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกัน เวลาขยับข้อจะเกิดเสียงเสียดสีในข้อ          






      





http://www.msdbangkok.go.th/healthconnor_Osteoarthritis%20of%20the%20Knee.htm


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม เกิดจากการใช้งานขอเข่าอย่างหนักและต่อเนื่อง จนทำให้กระดูกอ่อนข้อเข่าเสื่อมหรือ แตกกร่อน จนข้อเสียดสีกันและเกิดการอักเสบ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นมีดังนี้
·        อายุที่มากขึ้น ข้อเข่าเสื่อมตามวัย
·        น้ำหนักตัว ผู้สูงอายุที่น้ำหนักตัวมาก ข้อจะรองรับน้ำหนักมาก
·        ทำให้ข้อเสื่อมได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะข้อหลักๆ ที่รองรับน้ำหนักตัว คือ ข้อเข่า ข้อหลัง ข้อสะโพก
·        การเคลื่อนไหว หรือ ปรับเปลี่ยนท่าที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ข้อเข่า รวมถึงข้อต่างๆ ทำงานหนักขึ้น เช่น การนั่งยองๆ กับพื้นนานๆ การผลุดลุกนั่งบ่อยๆ  การยืนที่ทิ้งน้ำหนักตัวลงขาข้างใดข้างหนึ่งนานๆ รวมถึงการยกของหนักที่ส่งผลโดยตรงต่อข้อต่อ
·        การสูญเสียกล้ามเนื้อ จะทำให้ข้อต่อต่างๆ ใช้แรงในการเคลื่อนไหวมากขึ้น เพราะโดยปกติการเคลื่อนไหวร่างกายจะใช้แรงจาก การทำงานของกล้ามเนื้อร่วมกับกระดูกและข้อ ดังนั้น คนที่ไม่ออกกำลังกาย หรือ ผู้สูงอายุที่ขาดสารอาหารจะเริ่มเกิดการสลายโปรตีนในร่างกายและสูญเสียกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กระดูกและข้อต่อต่างๆ ทำงานหนักขึ้น จนเป็นโรคข้อเสื่อมในที่สุด
·        การรับประทานอาหารและยา ที่มีผลต่อข้อเข่าเสื่อม เช่น การ
รับประทานอาหารที่มีคอลลาเจนและแคลเซียมจะช่วยบำรุงกระดูกและข้อ หากขาดสารอาหารจำเป็นเหล่านี้ โอกาสที่ข้อต่อต่างๆ จะเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้น การรักษาและการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้ดังนี้

อาการและอาการแสดงโรคข้อเข่าเสื่อม
1           1. อาการปวดข้อ ระยะ แรกปวดข้อเกิดภายหลังใช้ข้อมากกว่าปกติ มักบอกตำแหน่งของอาการปวดได้ไม่แน่นอน และมักเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น ผู้ป่วยเริ่มเป็นข้อเข่าเสื่อมข้อขวาก่อน ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขหรือไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ช่วงที่ยังคงมีอาการปวดข้อเข่าขวาอยู่ จะทำให้ผู้ป่วยลดการใช้งานข้อเข่าขวา ทำให้ต้องใช้งานข้อเข่าซ้ายมากขึ้น ก็จะเกิดอาการปวดจากโรคข้อเข่าซ้ายเสื่อม อาการปวดจะดีขึ้นหรือหายเมื่อได้พักข้อ ถ้าเป็นมากขึ้นจะมีอาการปวดข้อเวลาใช้ข้อเพียงเล็กน้อยและถ้าเป็นมากขึ้นอีก จะปวดเวลาหยุดพักข้อ อาการปวดข้อเกิดจากโครงสร้างที่อยู่ในข้อ หรือรอบข้อ เช่น เยื่อบุข้อ เอ็นยึดข้อ ปลายกระดูกที่มีพยาธิสภาพเยื่อ บุกระดูกกล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มข้ออันเป็นผลจากการกระทบกระแทกหรือผลึกทำให้เกิดการอักเสบ อาการปวดข้อมักสัมพันธ์กับการใช้งาน
2            2.ข้อฝืดแข็ง (Localized Stiffness)  เป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดภายหลังพักข้อเป็นเวลานาน เช่น หลังตื่นนอน หรือภายหลังหยุดการเคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน เช่น นั่งท่าเดียวนานๆ อาการจะเป็นในระยะเวลาสั้น ๆไม่กี่นาที (พบน้อยที่จะเป็นมากกว่า 15 นาที) ข้อฝืดแข็งเป็นอาการเกิดขึ้นชั่วคราวขยับข้อซัก 2-3 ครั้งก็ดีขึ้น เป็นอาการที่พบบ่อยในข้อช่วงล่างของลำตัวได้แก่ข้อเข่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการข้อแข็งเวลาอยู่ในท่าหนึ่งท่าใด เป็นเวลานาน ๆ เช่น การนั่งรถ เวลาเดินทางไปไหน หรือนั่งอยู่ในท่าหนึ่งท่าใดเป็นเวลานานเกินไป พอจะก้าวเท้าลงจากรถ ไม่สามารถงอข้อเข่าได้ ทำให้ไม่สามารถก้าวเท้าได้ ต้องยืนอยู่กับที่สัก 1 – 2 นาที หรือต้องงอข้อเข่า 4 – 5 ที จึงจะสามารถเดินต่อไปได้
3. ข้อบวมหรือข้อโตขึ้น (Joint Enlargement) มักเป็นผลจากน้ำในข้อที่มีมากขึ้นในระยะหลังเป็นผลจากกระดูกงอกขอบข้อ เวลาคลำรู้สึกแข็ง บางรายที่มีเยื่อหุ้มข้อมีความหนาตัวขึ้น อาจมีความรู้สึกข้อหนาๆ หยุ่นๆ
  4. ข้ออุ่น (Joint Warmth) กรณีที่มีการอักเสบของข้อ ข้อจะอุ่นมากกว่าปกติเล็กน้อยโดยเฉพาะเมื่อมีอาการเฉียบพลัน และมีน้ำ ในข้อ
          5. การกดเจ็บที่ข้อ (Joint Tenderness) กรณีที่มีข้ออักเสบตรวจพบมีการกดเจ็บเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหวข้อ หรือเวลากดกระดูกข้างข้อที่โตจะมีความรู้สึกเจ็บ การตรวจพบข้ออักเสบ เช่น บวม แดง ร้อน กดเจ็บพบได้ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
          6. มีเสียงในข้อในขณะเคลื่อนไหว (Crepitus on Motion) เป็นผลจากกระดูกอ่อนผิวข้อไม่เรียบเสียดสีกัน บางคนที่ใช้ข้อเข่ามากจากอาชีพ หรือการเล่นกีฬาที่มีการใช้ข้อเข่ามากเกินไป หรือมีการบาดเจ็บของข้อเป็นระยะ ๆ อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการมีเสียงในข้อขณะเคลื่อนไหวข้อ
          7. พิสัยการเคลื่อนไหวข้อลดลง (Limitation of Movement) เนื่องจากผิวของข้อสองข้างไม่เหมาะสมกัน กระดูกงอกขอบข้อที่ยื่นออกมา ชิ้นของกระดูกอ่อนผิวข้อที่แตกออกมาขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อ และกล้ามเนื้อรอบข้อหดเกร็ง ระยะเริ่มแรกอาจยังไม่เสียพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ เมื่อเป็นมากขึ้นกระดูกงอกขอบข้อร่วมกับกระดูกอ่อนผิวข้อที่บางลงเป็นองค์ ประกอบสำคัญที่ทำให้พิสัยของการเคลื่อนไหวข้อลดลง ยิ่งเป็นมาก และเป็นมานานร่วมกับไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทำให้เกิดการสูญเสียการทำ งานปกติ เช่น ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือเหยียดข้อเข่าให้ตรงได้ ข้อเข่าขัดขณะเดิน เหมือนมีอะไรมาขวางต้องสลัดเท้าแรง ๆ มีเสียงดังกร๊อบถึงจะเดินต่อไปได้ เกิดจากส่วนของกระดูกงอกขอบข้อมีการแตกและล่องลอยอยู่ในน้ำไขข้อ เมื่อลอยมาอยู่ในระหว่างผิวกระดูกอ่อนจะขัดขวางการเคลื่อนไหว
        8. ข้อผิดรูปหรือพิการ (Joint Deformity) โรคข้อเข่าเสื่อมทำให้เกิดข้อเข่าโก่ง (Bowleg) คือ ข้อเข่าแยกห่างจากกัน เวลายืนจะเห็นไดชัดเจน ในบางรายข้อเข่าด้านหนึ่งเป็นมากกว่าอีกด้านหนึ่งจะทำ ให้ข้อเข่าข้างที่เป็นมากบิดเกออกไป ผู้ป่วยบางรายอาจจะมาด้วยลักษณะข้อเข่าเข้ามาชิดกัน ปลายเท้าบิดชี้ออก ที่เรียกว่าข้อเข่าฉิ่ง (Knock Knee) และพบลักษณะพิการแบบข้อเข่าโก่ง (Genu Varus) เป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยพบเป็น ข้อเข่าฉิ่ง (Genu Valgus)
    9. ความมั่นคงของข้อเสียไป (Joint Instability) กระดูกอ่อนผิวข้อบางลงทา ให้ความกระชับของข้อเสียไป ข้อโครงเครง บางคนบอกว่าข้อหลวม
     10. การเดินผิดปกติ (Gait Disturbance) เดินกระเผลก ซึ่งเห็นได้ชัดเจนขึ้นถ้าเดินในพื้นที่ขรุขระหรือเดินขึ้นลงทางลาด
      11. กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง (Muscle Atrophy) ในรายที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยไม่ใช้ข้อจากที่มีอาการปวดข้อทำ ให้กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง

การรักษาและการป้องกัน
    การรักษาโรคเข้าเสื่อม ขึ้นกับระยะของการเสื่อมของข้อและระดับความรุนแรง  ดังนั้น การรักษาจึงประกอบด้วย การรักษาประคับประคองอาการ และการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
การมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุดในการวินิจฉัยโรคและความรุนแรง ในกรณี ผู้สูงอายุที่มีอาการข้อเสื่อมไม่มาก แพทย์จะแนะนำให้ลดการใช้งานข้อ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อข้อ ร่วมกับการประคบอุ่นหรือสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวมได้ และการรับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
หากอาการเสื่อมของข้อเข่า นั้น มีความรุนแรงมากจนผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดช่วยบรรเทาอาการ รวมทั้งเปลี่ยนข้อเข่า โดยใส่ข้อเข่าเทียมให้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นวิธีสุดท้าย เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงในกรณีที่ผู้สูงอายุอาจมีโรคประจำตัวที่มีผลต่อการผ่าตัด รวมทั้งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก จะเลือกใช้ในผู้ป่วยที่ข้อเข้าเสื่อมจนข้อถูกทำลายอย่างมากแล้วเท่านั้น
ดังนั้น การรู้จักโรคข้อเข้าเสื่อมแล้ว พยายามดูแลและรักษาข้อ ไว้ให้ใช้งานนานๆ ใช้ข้ออย่างถูกวิธี ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุต่อไป
   
วิธีการรักษาที่ได้ผลดี และเสียค่าใช้จ่ายน้อย คือ
  •         การลดน้ำหนัก
  •         การออกกำลังกายข้อเข่า
  •         การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน

ข้อแนะนำรักษาด้วยตนเอง
1.        เมื่อมีอาการปวดเข่าจากข้อเสื่อม ควรใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบรอบๆเข่า นาน 15 - 30 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
2.        ลดน้ำหนักตัว เพราะจะทำให้เข่าแบกรับน้ำหนักน้อยลง การเสื่อมของเข่าก็จะช้าลงด้วย
3.        ไม่ควรนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ เพราะท่าดังกล่าวจะทำให้ข้อเข่าเสียดสีกันและเสื่อมเร็วขึ้น
4.        ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก หรือ ใช้เก้าอี้ที่มีรูตรงกลาง วาง ไว้เหนือคอห่าน แทนการนั่งยอง ๆ ควรทำที่จับบริเวณด้านข้างโถนั่งหรือใช้เชือกห้อยจาก เพดาน เพื่อใช้จับพยุงตัว เวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน
5.        ที่นอนบนเตียง ควรมีความสูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือ จะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น
6.        หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นควรเปลี่ยนท่าหรือขยับ เหยียด -งอ ข้อเข่าอยู่เรื่อยๆ
7.        ไม่ควรเดินบนทางเดินที่ขรุขระเพราะจะทำให้น้ำหนักตัว ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
8.        ควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดิน ซึ่งจะช่วยรับน้ำหนักตัว ทำให้เดินได้มั่นคง และเจ็บน้อยลง
9.        ออกกำลังกล้ามเนื้อเข่าเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อ และเอ็นรอบเข่าแข็งแรง เพิ่มความทนทานในการใช้งาน ช่วยป้องกันและลดความพิการที่อาจเกิดขึ้นกับข้อเข่า

สมุนไพรไทย 6 ชนิด ที่มีสรรพคุณช่วยรักษาข้อเข่าเสื่อม




เพชรสังฆาต
สมุนไพรชนิดนี้ เป็นไม้เถาเลื้อย เปลือกเถาเรียบเป็นข้อต่อๆ กัน เถาของเพชรสังฆาตมีลักษณะเหมือนกระดูก เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข้อต่อกระดูก มีสรรพคุณในการบำรุงกระดูก แก้ปวด แก้อักเสบ และสารฟลาโวน้อยด์ที่ทำให้เส้นเลือดแข็งแรง
เถาวัลย์เปรียง
สมุนไพรที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต ขึ้นอยู่ทั่วไปตามหัวไร่ปลายนา หน้าฝนออกดอกสีขาวเป็นช่อบานสะพรั่งสวยงาม ยอดอ่อนรับประทานได้ สรรพคุณในการแก้อาการปวด ลดการอักเสบ อาการปวดเมื่อยของกระดูกและข้อ
งา
พืชน้ำมันบำรุงชั้นยอด งาอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส รับประทานคู่กับถั่วธัญพืชต่างๆ จะยิ่งทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูก สรรพคุณของงา ในการเป็นยาบำรุงกระดูก
หญ้าขัดมอน
สมุนไพรตระกูลขัด มีสรรพคุณในการแก้ขัดต่างๆ เช่น อาการปวด ขัดตามข้อ ปัสสาวะขัด ใช้ในการรักษาอาการปวดข้อ ปวดเมื่อย บำรุงเอ็น รวมถึงกล้ามเนื้อและกระดูก
เอ็นอ่อน
เป็นสมุนไพรหนึ่งในยา สามดูกสี่เอ็น เพื่อรักษากระดูกและเอ็น สรรพคุณที่ใช้ในการรักษากระดูกและเอ็น แก้เส้นตึง ช่วยให้คลายเส้น และยืดเส้นเอ็น
ยอ
สมุนไพรใกล้ตัว ถูกนำมาใช้ทำอาหาร หรือทำเป็นยาพอกแก้ปวด แก้เคล็ดขัดยอก ผลยอสุกนำมาใช้รับประทานได้ ลูกยอบดใช้ทาผิวหนังฆ่าเชื้อโรค ในปัจจุบันมีการนำยอมาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น โรคเก๊าต์ โรคความดันโลหิตสูง อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ โรคปวดในข้อ เป็นต้น

    การรักษาด้วยการใช้สมุนไพรไทยจากธรรมชาติ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่อาจช่วยบรรเทาอาการได้ไม่มากก็น้อย แต่สำหรับคนที่ยังไม่เป็นโรค การทำความรู้จักสมุนไพรไว้ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการดูแลตัวเองได้

    




  • วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงเอ็นข้อต่อ ผู้ป่วยข้ออักเสบควรบริโภควิตามินซีประมาณ 90 มิลลิกรัม/วันในเพศชาย และประมาณ 75 มิลลิกรัม/วันในเพศหญิง ตัวอย่างอาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ส้ม สับปะรด ฝรั่ง บรอกโคลี มะเขือเทศ มะละกอสุก กะหล่ำปลี และดอกกะหล่ำ เป็นต้น
  • วิตามินดี ช่วยดูดซึมแคลเซียมและเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินได้ทางผิวหนังจากการรับแสงแดด โดยควรรับแสงแดดอ่อน ๆ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแดดจ้า หรืออยู่กลางแดดเป็นเวลานานเกินไป นอกจากนี้ สามารถรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูงได้จากอาหารจำพวกนม ไข่ ปลาซาดีน และอาหารทะเล
  • สารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) เช่น เควอซิทิน (Quercetin) และแอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidins) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบคล้ายยาแอสไพรินและไอบูโพรเฟน โดยอาหารที่มีไบโอฟลาโวนอยด์ ได้แก่ เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แอปเปิ้ล ชาเขียว หัวหอม และมะเขือเทศ
  • เบตาแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งช่วยขจัดสารอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนทำลายข้อต่อกระดูกต่าง ๆ โดยอาหารที่มีเบตาแคโรทีนสูง ได้แก่ แครอท แคนตาลูป ใบสะระแหน่ ผักปวยเล้ง และหน่อไม้ฝรั่ง  
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 อาจช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวดข้อต่อกระดูก และลดอาการติดแข็งบริเวณข้อในตอนเช้า โดยอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาซาดีน ปลาทูน่า และปลาแซลมอน

     อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม


  • เกลือ หากบริโภคเกลือในปริมาณมาก จะทำให้เซลล์เก็บน้ำไว้มากเกินไปจนร่างกายบวมน้ำ ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรลดการใช้เกลือและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม
  • น้ำตาล อาจกระทบต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกาย ซึ่งทำให้การอักเสบทวีความรุนแรง จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้ก คุกกี้ หรือขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ
  • แป้งขัดขาว อาจกระตุ้นการอักเสบในร่างกาย และทำให้อาการปวดข้อต่อกระดูกรุนแรงขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทำจากแป้งขัดขาว เช่น ขนมปังขาว พาสต้า ซีเรียล ธัญพืชต่าง ๆ ที่ขัดขา
  • อาหารทอด เช่น เฟรนช์ฟราย โดนัท เพราะมีไขมันอิ่มตัวปริมาณมาก ซึ่งอาจเพิ่มการอักเสบภายในร่างกายได้ ผู้ป่วยจึงควรเลือกบริโภคอาหารอบแทนอาหารที่ใช้น้ำมันทอด
  • เนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูง เพราะการปรุงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ด้วยอุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดสาร AGEs (Advanced Glycation End Products) ที่อาจทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย และอาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ซึ่งสาร AGEs มักอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยการย่าง ปิ้ง หรือทอด ที่ใช้อุณหภูมิสูง
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ เพราะอาจกระตุ้นอาการต่าง ๆ ให้รุนแรงขึ้น และอาจเกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อใช้ร่วมกับยาหรือการรักษาอื่น ๆ ของโรคข้ออักเสบ

ท่าออกกำลังกายสำหรับ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม




      ข้อแนะนำการรักษาโดยการใช้ยา
1.พิจารณายาพาราเซตตามอลชนิดรับประทาน โดยให้ขนาด 500 มิลลิกรัม 1-2 เม็ด ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 8 เม็ด/วัน และไม่ควรรับประทานติดต่อกันทุกวันนานๆ อาจมีผลเสียต่อตับและไตได้
2. ยาทาเฉพาะที่ประเภทกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาประเภทนี้มีผลดีพอควรและปลอดภัย พิจารณาให้ยาทาเป็นยาเสริมตัวอื่นหรือให้เดี่ยวๆในกรณีที่กินยาไม่ได้ผลและ ไม่ต้องการยาฉีด เช่น ยา Capsaicin เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าสื่อม ทำมาจาก Capsicum
3. กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ให้เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาพาราเซตตามอล ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อระบบทางเดินอาหารให้พิจารณากลุ่มยาต้านการ อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ร่วมกับสารป้องกันกระเพาะอาหาร (Gastroprotective agents) กลไกการออกฤทธิ์ของกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) คือ
บรรเทาอาการอักเสบ (Anti-inflammation) โดยยามีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรสตาแกลนดินทำให้ลดการอักเสบ
บรรเทาปวด (Analgesia) โดยกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรสตาแกลนดินจึงบรรเทาปวดได้

การ ที่กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ลดการอักเสบได้ช่วยส่งผลในการบรรเทาความเจ็บปวดด้วย แต่กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มีผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารจาก 1) ผลเฉพาะที่ของยา(Local effect) ต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดกรดเฉพาะที่(Gastric acid-mediated topical effect) 2) ผลจากการที่กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยับยั้งการสังเคราะห์เอนไซม์โปรสตาแกลนดินซึ่งมีคุณสมบัติปกป้องเยื่อบุทาง เดินอาหาร(Mucosal defensive) มีผลต่อการควบคุมการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงเยื่อบุเซล (Gastric mucosal blood flow) และทำให้เกิดการลดลงของเมือกเยื่อบุเซลซึ่งเป็นปัจจัยหลักทำให้เกิดแผลและ เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
4. การรักษาโดยการฉีดยาเข้าช่องข้อ (Intra-Articular Therapy)
การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าข้อ มีประโยชน์ถ้ามีหลักฐานของข้ออักเสบ มักทำร่วมกับการรักษาที่ไม่ใช้ยา หลังฉีดยาเข้าข้อแล้วควรพักข้อ 1 – 2 วัน ก่อนฉีดยาควรดูดน้าไขข้อออกก่อน ไม่ควรฉีดมากว่า 4 ครั้ง/ปี ภาวะแทรกซ้อนของการฉีดยาเข้าข้อ เช่น Depocorticosteroids เป็นผลึกทา ให้เกิดเยื่อบุข้ออักเสบได้ช่วงสั้น ๆ และโรคกำเริบได้ การฉีดยาเข้าข้อทำให้ Cartilage Catabolism ช้าลง แต่ในระยะยาวอาจมีผลเสียจาการลดปวดทำให้ผู้ป่วยใช้ข้อมากขึ้น ทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น
– Antispasmodics อาการปวดกล้ามเนื้อดีขึ้นได้โดยการใช้ยา Antispasmodics หรือยาฉีดเข้าตา แหน่งปวด ร่วมกับ Depocorticosteroid การใช้ยารับประทานเพื่อลดปวดจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด
ยาปรับเปลี่ยนการดาเนินของโรคข้อเสื่อม (Disease Modifying Osteoarthritis Drug หรือ DMOAD) สามารถชะลอไม่ให้โรคดา เนินต่อไปหรือทำให้ร่างกายมีการซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อให้กลับสู่ปกติ และสามารถชะลอไม่ให้เป็นโรคข้อเสื่อม หรือทำให้โครงสร้างที่เปลี่ยนไปทั้งหมดหรือบางส่วนของกระดูกและกระดูกอ่อน ผิวข้อในโรคข้อเสื่อมกลับมาสู่โครงสร้างปกติ ยากลุ่มนี้มีประโยชน์ในระยะยาว ได้แก่ กรดฮัยยาลูโรนิค, กลูโคสามีนซัลเฟท และคอนโดรอีติน ซัลเฟท เป็นต้น

การรักษาโดยการผ่าตัด
1. การผ่าตัดจัดแนวกระดูกขาใหม่ (Realignment Osteotomy) หมายถึง การผ่าตัดกระดูกรอบ ๆ ข้อ เพื่อจัดแนวขาใหม่ ทา ให้เกิดการย้ายแนวแรง (Mechanical Axis) ซึ่งเคย
ผ่านข้อส่วนที่เสื่อมไปสู่ข้อส่วนที่ดี ช่วยลดน้า หนัก แล มีการกระจายน้า หนักจากข้อที่เสื่อมไปยังผิวข้อที่ดี (Unload Degenerative Compartment) ทำให้เกิดการซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular Cartilage Regeneration) ส่วนที่เสื่อมไปแล้ว ช่วยเพ่มิ อายุการใช้งานก่อนที่จะต้องเปลี่ยนข้อเทียม
2. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเพียงส่วนเดียว (Unicompartment KneeArthroplasty : UKA) หมายถึง การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเพียงส่วนในส่วนหนึ่งของข้อ ส่วนใหญ่มักทา ใสส่วน Medial Compartment การผ่าตัดชนิดนี้เป็นทางเลือกในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่อายุไม่มากนัก และมีโรคขอเข่าเสื่อมมากเพียงด้านเดียว
3. การผ่าตัดเปลยี่นข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty : TKA) เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่ามากและสูญเสียความสามารถในการใช้ ชีวิตประจาวันอย่างปกติ แม้จะได้รับการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ โดยทั่วไปนิยมทา ในผู้ทีมีอายุมากว่า 60 ปี มีข้อผิดรูปมาก มีการเดินผิดปกติ ปวดข้อเข่ามาก แม้จะได้รับการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประวัน ส่วนข้อบ่งชี้รอง ประกอบด้วยมีความพิการผิดรูปมาก เช่นมีข้อเข่าโก่ง (Bow Leg) หรือข้อเข่าฉิ่ง (Knock Knee) หรือมีข้อติดผิดรูปในท่างอ (Flexion Contracture)

นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ “อุปกรณ์ประคบเย็น” 
นางพัสน์นันท์มงคลจาตุรงค์ งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ ฝ่ายการพยาบาล โรง พยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล
การบริหารจัดการความ ปวด
• การจัดการความปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เข้ารับการผ่าตัด
 เปลี่ยนข้อเข้าเทียม
 - ใช้ยาบรรเทาปวด
- ไม่ใช้ยา

การบริหารจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยา
• การใช้ความเย็นประคบ มีประสิทธิภาพในการลดความปวดและ อาการบวม
• อุปกรณ์ประคบความเย็นที่ใช้ในศิริราช ได้แก่
- cold pack
- cryo cuff


































วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้ประคบเย็นรักษาและบรรเทาความเจ็บปวดบริเวณข้อเข่า
 2. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายขณะประคบข้อเข่าด้วยความ เย็นที่มีอุณหภูมิคงที่



อุปกรณ์ที่ใช้










ผ้าสําลีเย็บเป็นถุง ขนาด 25 x 50 ซม.













ถุง Urine bag (ใหม่)







ปั๊มน้ําตัวเล็ก พร้อมสายยาง











กระติกน้ํา





















https://s3.amazonaws.com/rdcms-iasp/files/production/public/Content/ContentFolders/GlobalYearAgainstPain2/2016/FactSheets/Thai/13_Formatted_Thai.pdf
https://mgronline.com/goodhealth/detail/9580000131494
https://www.pobpad.com/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7

file:///D:/kanyarat/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%202.pdf



    สมุนไพรไทย     6 ชนิด ที่มีสรรพคุณช่วยรักษาข้อเข่าเสื่อม เพชรสังฆาต สมุนไพรชนิดนี้ เป็นไม้เถาเลื้อย เปลือกเถาเรียบเป็นข้อต่อๆ ...